วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Doraemon

Doraemon




เรื่องของโดเรม่อนนั้น มีทั้งเรื่องสั้นเป็นตอนๆจบ และเรื่องตอนพิเศษที่มักเป็นเรื่องของการผจญภัย ไปยังที่ต่างๆโดย ใช้ของวิเศษจากกระเป๋า หน้าท้องของโดเรม่อน แต่ละตอนก็สนุกอย่าบอกใครเลย เรื่องของเรื่องมันก็เริ่มจาก ...เด็กผู้ชายคนหนึ่งที่แสนจะขี้เกียจ เรียนก็ไม่เก่ง และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง จะใครซะ อีกล่ะ ก็เด็กชาย โนบิ โนบิตะไงล่ะ แต่ละวัน โดนเพื่อนแกล้ง ครูตี แม่ดุ ไม่เว้นวัน ช่างน่าสงสาร แล้วต่อไปจะเป็น ผู้ใหญ่ที่ดีได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งปาฏิหารย์ ก็เกิดขึ้น มีหุ่นยนต์จากโลกอนาคต รูปร่าง เหมือนแมวตัวอ้วนกลม ตัวหนึ่งถูกส่งมาเพื่อคอยช่วยเหลือโนบิตะ และ เขาก็คือ...โดเรม่อน

ส่วนหุ่นยนต์แมวตัวเล็กๆสีเหลืองน่ารัก นั้นก็คือน้องสาวของ โดเรม่อน ชื่อโดเรมี่เป็นหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพ มากกว่าพี่ชายเยอะเลย ใจดีและรักพี่ชายมากด้วย

โดเรม่อนมีกระเป๋า4มิติ ที่เชื่อมโยงระหว่างโลกปัจจุบันและอนาคตได้ ในนั้น เต็มไปด้วยของวิเศษมากมาย ซึ่งจริงๆแล้วเป็นแค่ของเล่น ของเด็กๆ ในอนาคตเท่านั้นเอง ของวิเศษเหล่านี้ ช่วยให้ชีวิตประจำวันของโนบิตะดีขึ้น ไม่ต้องถูกรังแก แต่เขามักจะใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ และก็มักจะหาเรื่องวุ่นวายมาให้โดเรม่อน บ่อยๆด้วย ทำให้เกิดความวุ่นวายโกลาหล เพื่อนๆของ โนบิตะก็เป็นเพื่อนกับโดเรม่อนเหมือนกัน ทุกคนรักโดเรม่อน และมักจะมาเล่น สนุกกับเครื่องมือต่างๆ ที่โดเรม่อนเอาออกมาใช้เสมอๆ ...


จุดกำเนิดของการ์ตูนโดราเอมอน



วันหนึ่งในปีพ.ศ.2512 อาจารย์ฟูจิโมโตะ ฮิโรชิ ต้องเขียนการ์ตูนเรื่องใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้ไปปรึกษากับอาจารย์โมโตโอะ อาบิโกะที่ร้านอาหารแห่งหนึง




อาจารย์ฟูจิโมโตะก็ยังคิดไม่ได้ว่าจะเขียนการ์ตูนอะไรดีจึงกลับบ้าน และเนื่องจากใกล้เวลาเที่ยงคืนแล้ว แกก็ง่วงและเผลอหลับไป




อาจารย์ฟูจิโมโตะถูกปลุกด้วยแมวที่บ้าน และเนื่องจากว่าเช้าแล้ว และจะต้องรีบคิดการ์ตูนเรื่องใหม่ อาจารย์จึงตื่นและรีบวิ่งลงบรรไดไปชั้นล่าง แต่ก็สะดุดอะไรบ้างอย่าง




อาจารย์ฟูจิโมโตะสะดุดตุ๊กตาของลูกสาวของเขานั่นเองครับ และ นั่นทำให้อาจารย์เกิดไอเดีย โดยนำแมว และ ตุ๊กตา มาผสมกัน




ในที่สุดอาจารย์ฟูจิโมโตะก็คิดออกว่า การ์ตูนเรื่องใหม่ที่จะเขียนเป็นเรื่องอะไร




ไอเดียเริ่มพุ่งกระฉูด ในที่สุด โนบิตะ และ ตัวการ์ตูนอื่น ๆ ก็ค่อย ๆ กำเนิดขึ้นมา..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น