บทที่ 5 กฎเกณฑ์แห่งฝัน พูดถึงสัจธรรมเกี่ยวกับความฝัน
ฝันบางอย่างทำให้เป็นจริงได้ ในขณะที่บางฝันก็แค่ฝันเฟื่อง
และคำอธิบายสำคัญว่าทำไมในบางตอน โดราเอม่อนถึงให้โนบิตะยืมของวิเศษอย่างง่ายดาย
ในขณะที่บางตอนง้อแทบตายก็ไม่ยอม
บทที่ 6 พยายาม “แบบโนบิตะ” ก็เพียงพอแล้ว คล้ายกับบทที่ 4 แต่บทนี้จะเน้นหนักไปในแนวทางปฏิบัติเพื่อทำความฝันให้เป็นจริงมากกว่า
ในขณะที่บทที่ 4 จะพูดถึงลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์
บทที่ 7 โดราเอม่อนก็อยู่ข้างตัวคุณเช่นเดียวกัน แนะแนวทางการปฏิบัติเมื่อพบกับความทุกข์ความล้มเหลว
ตอนจบ สารที่ อ.ฟูจิโกะ
ผู้แต่งโดราเอม่อนต้องการสื่อถึงผู้เขียนมาโดยตลอดคืออะไรบ้าง
เล่มนี้เป็น สารคดีแนวพัฒนาตนเอง หรือ หนังสือฮาวทู ดังนั้นผู้อ่านสามารถนำข้อคิดที่ได้จากเล่มนี้ไปปฏิบัติได้จะสำเร็จหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
เพราะผู้เขียนนั้นเรียบเรียงประเด็นได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน อ่านแล้วเข้าใจง่าย
และมีการยกตัวอย่างจากการ์ตูนบางตอนเพื่อเสริมแนวคิดของผู้เขียน
อันเป็นการแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวมีอยู่จริง
ซึ่งผู้เขียนได้กลั่นกรองมาอย่างลึกซึ้งแล้ว มิได้นั่งเทียนเอาเอง
ผู้เขียนวิเคราะห์โนบิตะ โดราเอม่อน และตัวละครอื่นๆ ได้ละเอียดจนน่ากลัว
น่ากลัวว่าบางประเด็นเข้าข่ายการ “แถ” รึเปล่า แต่อ่านแล้วเพลินดีก็ไม่ว่ากัน
ในหนังสือเล่มนี้นั้นมีหลายแนวคิด เช่นเพื่อนๆเคยสังเกตุหรือไม่ว่า
?โดราเอม่อนแต่ละตอนมักจะเริ่มด้วยปัญหาของโนบิตะ
แล้วโนบิตะก็มาขอความช่วยเหลือจากโดราเอม่อน
โดราเอม่อนก็มักใจอ่อนให้ของวิเศษไปใช้ แต่สุดท้ายแล้ว
ของวิเศษที่ขอไปก็มักไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่ได้ผล โนบิตะเลยต้องแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
และกลายเป็นว่าได้ผลดีกว่าใช้ของวิเศษเสียอีก
Theme หลักของโดราเอม่อนจึงเหมือนกับพุทธภาษิต “อตฺตาหิ อตฺตาโน นาโถ – ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” หรือการที่โนบิตะชนะใจใครต่อใครได้
รวมทั้งคนอ่านหลายคน เพราะแม้จะมีไอคิวต่ำ แต่อีคิวดีเยี่ยม
ในขณะที่เด็กเลิศอย่างเดคิซุงิกลับชวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น